วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

สเปคเครื่องอัดลมสกรู SCR NEW MODEL APM (INVERTER)

สเปคเครื่องอัดลมสกรู SCR NEW MODEL APM (INVERTER)

Working Power: 18.5~75KW
Free Air Delivery: 2.5~13.6m³/min
Working Pressure: 7/8/10bar



 ข้อดีของ เครื่องอัดลมสกรู SCR NEW MODEL APM (INVERTER)


1. การลงทุนเพื่ออนาคต

            สิ่งสำคัญที่สุดนั้น ไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน สำหรับ แอร์ คอมเพรสเซอร์ รุ่น APM (INVERTER) อาจแลดูมีราคาแพงกว่ารุ่นทั่วไป  แต่ลูกค้าจำนวนมากเลือกใช้ INVERTER เนื่องจากพวกเขาทราบถึงความสำคัญของต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน และผลตอบแทนจากการลงทุนในการเลือก แอร์ คอมเพรสเซอร์


2. สิ่งที่คุณจ่ายควรจะเป็นส่งที่คุณได้ใช้เท่านั้

            แอร์ คอมเพรสเซอร์ SCR รุ่น APM INVERTER สามารถปรับความเร็วรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของโหลดของโรงงาน ซึ่งเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ด้วยอัลกอริธึมที่พัฒนาขึ้นเอง จึงสามารถให้ปริมาตรและแรงดันที่แน่นอนตามที่ลูกค้าต้องการและประหยัดพลังงานได้สูงสุด

             การประหยัดพลังงานจะประสบความสำเร็จไปไม่ได้ถ้าไม่มีการควบคุมการทำงานผ่านระบบพิศษที่ SCR ได้พัฒนาขึ้น โดยผ่านการควบคุมอินเวอร์เตอร์ด้วย ระบบ Inverter control ระบบ Wide-range control และ ระบบ e-STOP function.


3. พิเศษสุด กับ Dual Housing มอเตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำมัน

            สำหรับ Dual Housing มอเตอร์ ( GPM )ใช้การออกแบบมอเตอร์ แบบ Dual Housing มีพื้นที่เหลือสำหรับช่องน้ำมันระหว่าง Housing ด้านใน และ Housing อื่นๆ ให้ใช้ระบบหล่อลื่นของตัว แอร์ คอมเพรสเซอร์เอง เพื่อลดอุณหภูมิมอเตอร์ลง เป็นลักษณะช่องวงกลมไหผ่านช่องน้ำมัน โดยมอเตอร์ GPM สามารถป้องการสูญเสียอำนาจแม่หล็กได้ ตลอดช่วงความถี่ที่ทำงาน และจะช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่า การระบายความร้อนด้วยอากาศ แบบมอเตอร์รุ่นเดิม ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงาน และช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้น


4. MOESE การเชื่อมต่อของสกรูและมอเตอร์

โรเตอร์มอเตอร์ติดตั้งโดยตรงบนเพลา

ไม่มีเกียร์หรือสายพาน

ไม่มีซีลเพลา

ไม่มีคับปิ้ง

การสูญเสียกำลังของเกียร์เป็นศูนย์

ง่ายต่อการติดตั้งและประกอบ

ไม่จำเป็นต้องทำการปรับเปลี่ยนระบบการใช้งาน

มีการป้องกันชิ้นส่วนภายในของมอเตอร์ที่ดีขึ้น

ลดค่าบำรุงรักษา


5.ระบบแปลงความถี่คู่

            PRESSURE ขาออก คงที่:

การประหยัดพลังงานที่ได้ประสิทธิผลมากที่สุด คือ การควบคุมแรงดันได้คงที่ ความผันผวนของแรงดันสามารถควบคุมได้ภายใน 0.01MPa

            TEMPERATURE ขาออก คงที่:

โดยปกติอุณหภูมิจะตั้งไว้ที่ 81 ให้ประสิทธิภาพการหล่อลื่นที่ดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดกะทันหันที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูง




#Thank for data form scrcompressor.com


วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

สเปคเครื่องอัดลมสกรู KAESER All-in-one rotary screw compressor systems - 2.2 kW up to 22 kW

คุณสมบัติทางเทคนิค

All-in-one systems:

รุ่น: SXC
กำลังมอเตอร์ (Motor power) 2.2 ถึง 5.5 kW
ปริมาณลม (Free Air Delivery) 0.26 ถึง 0.8 ลูกบาศก์เมตร/นาที
แรงดันมาตรฐาน (Standard pressures) 8/11/15 bar(g)
ติดตั้งพร้อมด้วย SIGMA CONTROL BASIC

รุ่น: Aircenter
กำลังมอเตอร์ (Motor power) 2.2 ถึง 15 kW
ปริมาณลม (Free Air Delivery) 0.26 ถึง 2.2 ลูกบาศก์เมตร/นาที
แรงดันมาตรฐาน (Standard pressures) 8/11/15 bar(g)

เฉพาะชุดที่มี Refrigeration เท่านั้น

รุ่น: SX T, SM T, SK T และ ASK T
กำลังมอเตอร์ (Motor power) 2.2 ถึง 22 kW
ปริมาณลม (Free Air Delivery) 0.26 ถึง 3.5 ลูกบาศก์เมตร/นาที
แรงดันมาตรฐาน (Standard pressures) 8/11/15 bar(g) 

สุดยอดการออกแบบ
จากการออกแบบที่ชาญฉลาด โดยแยกแอร์คอมเพรสเซอร์กับ Refrigeration dryer เป็นการปกป้อง Refrigeration dryer จากความร้อนที่ถูกระบายออกมาจากแอร์คอมเพรสเซอร์

Refrigeration dryer แบบประหยัดพลังงาน
สำหรับระบบการหยุดการทำงาน สามารถเลือกผ่านทางตัวควบคุม (Controller) ของแอร์คอมเพรสเซอร์ได้ จึงเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้
นอกจากนี้แอร์คอมเพรสเซอร์รุ่นนี้ยังถูกออกแบบให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงอีกด้วย
*) ไม่มีในรุ่น SXC

Aircenter และ SXC
KAESER Aircenter เป็นระบบอัดอากาศที่สมบูรณ์ เพราะมีการทำลมให้แห้งด้วย เมื่อแอร์คอมเพรสเซอร์ของ KAESER ที่ประกอบด้วยสกรูแบบ SIGMA-Profile ที่มีประสิทธิภาพสูง รวมกับ Refrigeration dryer ที่ประหยัดพลังงาน และยังมีถังลม (Air receiver)
ทำให้ KAESER Aircenter เป็นระบบอัดอากาศที่ประหยัดพื้นที่และคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างยิ่ง นอกจากนั้น Aircenter และ SXC ยังติดตั้งเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายกว่าแอร์คอมเพรสเซอร์แบบธรรมดาอีกด้วย

  SIGMA CONTROL 2
สามารถป้อนข้อมูลและแสดงสถานะการทำงานได้อย่างชัดเจน
เลือกภาษาได้ถึง 30 ภาษา เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย
   ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
เพียงแค่ถอดฝาครอบเครื่องทางด้านซ้ายออก ก็สามารถทำการซ่อมบำรุงได้อย่างสะดวก
นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบระดับน้ำมันและความตึงของสายพานได้อีกด้วย
   ระบบอัดอากาศที่ประกอบด้วยแอร์คอมเพรสเซอร์ที่ประหยัดพลังงาน
แม้จะเป็นเพียงแอร์คอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก ก็สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมาก
ยกตัวอย่างเช่น แอร์คอมเพรสเซอร์รุ่น 5.5 kW ใช้งาน 1,000 ชั่วโมงต่อปี หากลดการใช้พลังงานลง 20 % จะประหยัดได้ถึง 1,100 kWh และลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 660 กิโลกรัม
   แอร์คอมเพรสเซอร์รุ่นที่ประกอบกับ Refrigeration dryer
Refrigeration dryer ถูกติดตั้งไว้กับแอร์คอมเพรสเซอร์
โดยที่หัวใจของระบบนี้คือ แผ่นสแตนเลส heat exchanger พร้อมด้วยอุปกรณ์คัดแยกของเหลว (condensate separator)
   แอร์คอมเพรสเซอร์รุ่นที่มีถังลมประกอบอยู่ด้วย
แอร์คอมเพรสเซอร์รุ่น SXC ประกอบด้วยถังลมคุณภาพสูงที่เคลือบสารชนิดพิเศษภายใน โดยที่ถังลมมีหน้าที่หลัก 3 อย่าง นอกจากเก็บลมแล้ว ยังทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของลม และแยกของเหลวที่เกิดจากการควบแน่นออกจากลม โดยที่ของเหลวนั้นจะถูกระบายออกไป โดยผ่านเครื่องระบายของเหลวที่ควบคุมโดยไฟฟ้า

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ชิ้นส่วนอะไหล่ของแท้จาก KAESER

ชิ้นส่วนอะไหล่ของแท้จาก KAESER

น้ำมัน SIGMA FLUID
น้ำมัน SIGMA FLUID ช่วยลดความร้อน ช่วยหล่อลื่นและช่วยปกป้องวัสดุภายในเครื่อง สามารถทำงานได้ดีแม้ในอุณหภูมิต่ำ
สกรูชุดใหม่
สกรูชุดใหม่ของ KAESER ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ผ่านการผลิตที่แม่นยำและเที่ยงตรง มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานทัดเทียมกันทุกชิ้น

ชุดอะไหล่ (Service kits)
จากประสบการณ์อันยาวนานหลายทศวรรษ ทำให้ท่านมั่นใจได้ว่า KAESER มีชิ้นส่วนอะไหล่ทุกชิ้นที่จำเป็นต่อการบำรุงรักษาเครื่อง อีกทั้งยังระบุตารางเวลาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ

ไส้กรอง (Filter elements)
ไส้กรอง (Filter elements) ของ KAESER มีประสิทธิภาพในการกรองสูง และทำให้เกิด pressure drop น้อยที่สุด และยังสามารถกรองได้ดีแม้มีปริมาณลม (flow rate) น้อย

Activated carbon filters
Activated carbon filters ของ KAESER จะช่วยกำจัดของเหลวที่เกิดจากการควบแน่น เพื่อให้ลมมีคุณภาพที่ดีขึ้นและตรงตามความต้องการ โดยที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน

ชุด Separator cartridge
Separator cartridge ของ KAESER จะช่วยกำจัดน้ำมันให้หลงเหลืออยู่ในลมน้อยที่สุด                                       

ไส้กรอง (Air filter elements)
ช่วยในการกรองฝุ่นละอองภายนอกไม่ให้เข้าไปในสกรู และยังเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องแอร์คอมเพรสเซอร์อีกด้วย         




คุณภาพมาตรฐาน KAESER

สามารถมั่นใจในประสิทธิภาพการกรองและลดการสูญเสียแรงดัน
  • โครงสร้างเส้นใยของไส้กรองมีคุณภาพเยี่ยม
  • สามารถกรองได้ดีแม้มีปริมาณลมเพียง 5 % ของปริมาณลมปรกติ
  • มีการเคลือบผิวที่ได้มาตรฐาน
  • มีแสตนเลสที่ป้องกันน้ำมันและกรด
ไส้กรองของ KAESER สามารถใส่ใน Filter แบบอื่นได้
การเปลี่ยนไส้กรองให้ตรงเวลาจะช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้
การคำนวณ: ปฏิบัติงาน 6,000 ชั่วโมงต่อปี – 0.20 € / kWh –
ประหยัดพลังงานได้ 8 %

ลดค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงาน
การสูญเสียแรงดันเพียง 0.35 บาร์ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไส้กรอง
การเปลี่ยนไส้กรองให้ตรงเวลาจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

เทคโนโลยี i.HOC โดยละเอียด ของ KAESER







เครื่องทำลมแห้งแบบแกนหมุน – 100% ของอากาศอัดร้อนที่ได้จากกระบวนการอัดที่สอง
- ซิลิกาเจล ดรัม

- ทางออกอากาศที่ปรับคุณภาพแล้ว

- เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ระบายความร้อนอากาศที่ปรับคุณภาพแล้ว

- กับดักแยกคอนเดนเสต

- พัดลมเหวี่ยงหนีศูนย์ปรับสมดุลของแรงดันตกในกระบวนการทำลมแห้ง

- ทางเข้ากระบวนการทำลมแห้ง

- ทางออกแกนหมุนของเครื่องทำลมแห้ง

- ดรัมมอเตอร์

- ตัวเลือกสำหรับเซนเซอร์ pressure dew pointสำหรับกระบวนการ regenerate สารดูดความชื้น (จุด 1,2,3) เครื่องทำลมแห้ง i.HOC (integrated Heat Of Compression) ใช้ประโยชน์จากอากาศร้อนที่ได้จาก second compression stage ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100% ข้อดีของ full flow regeneration ชัดเจนยิ่ง เมื่อสามารถเพิ่มอุณหภูมิของตัว coolant ในสภาวะที่เครื่องทำงานไม่เต็มกำลัง เนื่องจากความร้อนที่ต้องการสามารถกำเนิดขึ้นมาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในกระบวนการ i.HOC
ด้วยชุดควบคุมอัจฉริยะในเครื่องทำลมแห้งแบบแกนหมุน ทำให้ dew point ที่ได้มีความเสถียรภาพสูง แม้ในสภาวะที่มีการจ่ายลมผันผวนมาก และในภาระการทำงานต่ำ ความเร็วของดรัม (2) ถูกปรับแต่งอัตโนมัติตามประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศ เพื่อคงความสามารถในการ regenerate สารดูดความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดที่เป็นไปได้ นี่คือกุญแจสำคัญที่ทำ pressure dew point ได้ถึง -30 °C ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
ประสิทธิภาพของเครื่องทำลมแห้งยังขึ้นอยู่กับแรงดันต่าง แรงดันต่างในเครื่องทำลมแห้งทั่วไป เป็นข้อชดเชยสำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อแรงดันในระบบเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่สำหรับเครื่องทำลมแห้งแบบแกนหมุน i.HOC ด้วยพัดลมชนิดเหวี่ยงหนีศูนย์ประสิทธิภาพสูง (6) ที่อยู่ใต้เครื่องทำลมแห้ง ทำให้กระบวนการ drying process สามารถกระจายแรงดันสูญเสีย (7,8) เมื่อต้องการ ซึ่งสามารถทำให้ได้มาซึ่ง pressure dew point ที่ต้องการด้วยความผันผวนต่ำ – แรงดันขาออก (8) สูงกว่าแรงดันขาเข้า



เครื่องทำลมแห้ง KAESER แบบหมุน i.HOC



นวัตกรรมล้ำยุค อัจฉริยภาพ การผสมผสานที่ลงตัว – เครื่องทำลมแห้งใหม่ i.HOC แสดงอยู่ด้วยการประกอบเข้ากับ Dry-running screw compressor รุ่น DSG ของ KAESER, ซึ่งสามารถจ่ายอากาศอัดที่มีคุณภาพ และความแห้งถึง PDP -30°C



Full flow regeneration

I.HOC สามารถนำอากาศอัดร้อนมาใช้เพื่อการ regeneration ได้ทั้งหมด 100% ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความสามารถในการกำจัดความชื้นได้ดียิ่งกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องทำลมแห้งแบบ partial flow สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอัดอากาศที่มีภาระการทำงานต่ำและอุณหภูมิระบายอากาศต่ำ

Drying even near the limit

ข้อดีของ full flow regeneration ชัดเจนยิ่ง เมื่อสามารถเพิ่มอุณหภูมิของตัว coolant เครื่องทำลมแห้งแบบแกนหมุนของ KAESER สร้างผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม ถึงแม้จะไม่มีเครื่องทำความร้อนไฟฟ้าที่ใช้สำหรับ regeneration air

ประสิทธิภาพที่สมบูรณ์แบบ

ด้วยชุดควบคุมอัจฉริยะในเครื่องทำลมแห้งแบบแกนหมุน ทำให้ dew point ที่ได้มีเสถียรภาพสูง แม้ในสภาวะที่มีการจ่ายลมผันผวนมาก และในภาระการทำงานต่ำ ในการใช้งานครั้งแรก dew point ที่ต้องการสามารถทำได้เพียงการหมุนของ drum เพียงรอบเดียว

Drum ที่มีความแม่นยำสูง

สารดูดความชื้นซิลิกาเจลใน drum ที่ถูกผลิตด้วยเทคโนโลยีคุณภาพและความแม่นยำสูง การไหลผิดทิศทางใน drum ที่ก่อให้เกิดการผันผวนของ pressure dew point จึงถูกป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กับดักคอนเดนเสตภายนอก

กับดักคอนเดนเสตคุณภาพสูงถูกประกอบเข้าใน i.HOC ที่ขาออกของ second compressed stage’s heat exchanger เพื่อแยกคอนเดนเสตที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการ regeneration ภายนอกเครื่องทำลมแห้ง ซึ่งสามารถช่วยปกป้อง drum จากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากหยดน้ำ

สเปคเครื่องอัดลมสกรู KAESER พร้อมด้วย SIGMA FREQUENCY CONTROL

คุณสมบัติทางเทคนิค

รุ่น: SM SFC ถึง HSD SFC
กำลังมอเตอร์ (Motor power) 7.5 ถึง 515 kW
ปริมาณลม: 0.30 ถึง 86 ลูกบาศก์เมตร/นาที
แรงดันมาตรฐาน (Standard pressure) 6 ถึง 15 bar(g)
SFC = SIGMA FREQUENCY CONTROL


แอร์คอมเพรสเซอร์ของ KAESER ตั้งแต่รุ่น SM SFC จนถึง HSD SFC จะเป็นแบบระบบ variable-speed
โดยที่รุ่น SM, SK และ ASK SFC จะเป็นระบบชุดขับสายพาน V-belt ที่มีการปรับแรงดึงสายพานอัตโนมัติ
เพื่อให้เกิดการส่งผ่านพลังงานที่เหมาะสม และรุ่นขนาดตั้งแต่ ASD SFC ขึ้นไป จะใช้ชุดขับเคลื่อน
1:1 direct drive
สกรูแบบ SIGMA PROFILE ที่มีขนาดใหญ่และหมุนด้วยความเร็วต่ำของ KAESER โดดเด่นอย่างมากในการประหยัดพลังงาน
นอกจากนี้ แอร์คอมเพรสเซอร์ของ KAESER ระบบ SFC ยังช่วยในการประหยัดค่าซ่อมบำรุงรักษาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

   SIGMA CONTROL 2
สามารถป้อนข้อมูลและแสดงสถานะการทำงานได้อย่างชัดเจน
เลือกภาษาได้ถึง 30 ภาษา เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย
   พลังงานจำเพาะที่เหมาะสมที่สุด
ถ้ามีการติดตั้งมันจะควบคุมความถี่ของเครื่องอัดอากาศขณะทำงานได้นานกว่าเครื่องตัวอื่นใน compressed air station   KAESER SFC models ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ ความเร็วรอบในการหมุนต่ำ ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงาน, อีกทั้งยังช่วยขยายเวลาในการดูแลรักษาและมั่นใจได้ว่ามีลมใช้อย่างต่อเนื่อง
   เชื่อถือได้สูงสุดแม้ทำงานในสภาวะอุณหภูมิสูง
จากการที่แอร์คอมเพรสเซอร์แบบ SIGMA FREQUENCY CONTROL มีตู้ทำความเย็น ทำให้ยังสามารถทำงานได้ดีเยี่ยม แม้ในสภาวะอากาศร้อนถึง 45 องศาเซลเซียส
   ได้มาตรฐาน EMC
ส่วนประกอบทุกชิ้นได้รับการตรวจสอบและรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน EMC (The electro-magnetic compatibility)
   การสตาร์ทของมอเตอร์
มอเตอร์จะเริ่มต้นทำงานอย่างช้าๆไปจนถึงระดับ full load โดยที่ไม่มีการกระชากของกระแสไฟฟ้า และเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานอีกด้วย

สเปคเครื่องอัดลมสกรู KAESER พร้อมเครื่องทำลมแห้ง (Refrigeration dryer) - 18.5 kW ถึงขนาด 132kW


คุณสมบัติทางเทคนิค

รุ่น: ASD T ถึง DSD T
กำลังมอเตอร์ (Motor power) 18.5 ถึง 132 kW
ปริมาณลม (Free Air Delivery) 2.09 ถึง 23.8 ลูกบาศก์เมตร/นาที
แรงดันมาตรฐาน (Standard pressures) 8/11/15 bar(g)

รุ่น ASD T ถึง DSD T สุดยอดแอร์คอมเพรสเซอร์รุ่นนี้ ใช้งานได้เอนกประสงค์และมีประสิทธิภาพสูง
เป็นระบบอัดอากาศที่สมบูรณ์และสามารถวางใจในคุณภาพลมได้
จากการที่แอร์คอมเพรสเซอร์และ Refrigeration dryer อยู่แยกส่วนกัน ทำให้ Refrigeration dryer ไม่ได้รับความร้อนที่ถูกระบายออกมาจากแอร์คอมเพรสเซอร์

Refrigeration dryer แบบประหยัดพลังงาน
ระบบหยุดการทำงานของ Dryer ถูกเชื่อมต่อกับแอร์คอมเพรสเซอร์ ช่วยในการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี

การทำงานอย่างเป็นระบบ การทำงานที่เชื่อมต่อกันของแอร์คอมเพรสเซอร์กับ Dryer แต่อยู่แยกส่วนกัน เป็นการปกป้อง Refrigeration dryer จากความร้อนที่ถูกระบายออกมาจากคอมเพรสเซอร์
เนื่องจากระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้สามารถทำงานได้ดีเยี่ยม แม้ในสภาวะอากาศร้อนถึง 45 องศาเซลเซียส

   การประหยัดพลังงานด้วยการใช้ KAESER SIGMA PROFILE
สกรูทุกตัวของ KAESER เป็นแบบ SIGMA PROFILE ซึ่งถูกผลิตด้วยมาตรฐานระดับสูงสุด ฉะนั้น ท่านจึงมั่นใจได้ว่า SIGMA PROFILE จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านพลังงานและมีอายุการใช้งานยาวนาน

ค่าใช้จ่ายในการซื้อแอร์คอมเพรสเซอร์
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
ค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการประหยัดพลังงาน
   SIGMA CONTROL 2
สามารถป้อนข้อมูลและแสดงสถานะการทำงานได้อย่างชัดเจน
เลือกภาษาได้ถึง 30 ภาษา เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย
   Centrifugal separator
Centrifugal separator ช่วยขจัดของเหลวออกจากลม ที่เพิ่งออกมาจากแอร์คอมเพรสเซอร์ก่อนที่จะเข้าสู่ Refrigeration dryer
โดยที่ Centrifugal separator ยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในสภาพอากาศที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สูง
นอกจากนี้ยังมี ECO DRAIN เพื่อช่วยระบายของเหลวออกจากระบบ โดยไม่สูญเสียแรงดันลม
   การทำลมให้แห้ง
ECO DRAIN ยังสามารถติดตั้งไว้กับ Refrigeration dryer เพื่อช่วยระบายของเหลวออก ซึ่ง ECO DRAIN จะตรวจวัดระดับของเหลวโดยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สะดวกในการใช้งานและยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
   การออกแบบให้ประหยัดพื้นที่
ระบบอัดอากาศที่มีทั้งแอร์คอมเพรสเซอร์และ refrigeration dryer
ถูกออกแบบให้กะทัดรัด ทำให้ง่ายและรวดเร็วต่อการซ่อมบำรุง